ยางรถยนต์ เป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญมากอย่างหนึ่งในรถยนต์ที่ช่วยทำให้ผู้ขับขี่รู้สึกถึงปลอดภัยในขณะที่รถยนต์กำลังทำงาน ทั้งนี้จะสังเกตได้ว่าในยางรถยนต์นั้นจะมีวัสดุสิ่งทอเป็นองค์ประกอบประมาณ 5 % ขออนุญาตนำประสบการณ์ 20กว่าปี ที่ทำงานเกี่ยวกับผ้า LINER ในอุตสาหกรรมผลิตยางรถยนต์ นำมาถ่ายทอด ให้ทราบกันพอสังเขปครับ....
      บางท่านอาจสงสัยกับคำว่าผ้า LINER ที่ใช้ในอุตสาหกรรมยางรถยนต์ บางท่านอาจจะคิดว่าผ้านี้อาจจะใช้ผลิตอยู่ในล้อยางรถยนต์หรือที่เรียกว่าผ้าเสริมแรง หรือ ที่เรียกว่า Tyre Cord ครับ จริงๆ ผ้า LINER ที่ใช้ในอุตสาหกรรมผลิตยางรถยนต์ เป็นตัวห่อม้วน เก็บชิ้นยาง(COMPOUND) และคลายผ้า LINER ออกมาเพื่อนำไปใช้ในขบวนการผลิตยางรถยนต์ขั้นตอนต่อไป ซึ่งแต่ละบริษัทฯผู้ผลิตยาง อาจจะมีสูตรผสมยางไม่เหมือนกัน ซึ่งผ้า LINER แต่ละชนิดก็ต้องใช้วัตถุดิบทั้งด้ายยืน และ ด้ายพุ่ง ของผ้า LINER ตามคุณสมบัติของเส้นด้าย ให้เหมาะสมกับสูตรผสมยาง


ตัวอย่างส่วนประกอบชิ้นยาง

 

 

โครงสร้างผ้า LINER แบบตั้งเดิมของบริษัท เอส.บี.เจ. จำกัด

ในการผลิตผ้า LINER มีส่วนประกอบ โครงสร้างผ้า 2 แนว คือ

1.แนวด้ายยืน(WARP YARN) คือ แนวเส้นด้ายตามความยาวของผ้า ซึ่งมีวิธีผลิตตามขั้นตอนเตรียมแนวด้ายยืน(ดูในกระบวนการผลิต)

2.แนวด้ายพุ่ง ( FILLING YARN หรือ WEFT YARN) คือ แนวเส้นด้ายตามแนงขวางของผ้า ซึ่งมีวิธีผลิตตามขั้นตอนเตรียมแนวด้ายพุ่ง(ดูในกระบวนการผลิต)

หมายเหตุ ชนิดด้ายยืนและด้ายพุ่ง ทางบริษัทฯ จะเป็นผู้กำหนดและออกแบบชนิดด้ายให้เหมาะสมกับสูตรยางบริษัทฯยาง เช่น -ถ้าสูตรยางที่ผสมมี คุณสมบัติ ที่ แห้ง ผ้าLINER ต้องออกแบบให้มีคุณสมบัติรักษาอุณหถูมิป้องกันไม่ให้ความชื้นเข้าถึงชิ้นยาง และสามารถนำไปใช้สู่ขั้นตอน ผลิตยางรถยนต์ ตามมาตรฐานสากล -ถ้าสูตรยางที่ผสมมี คุณสมบัติ ที่ ความชื้นสูงผ้า LINER ต้องออกแบบ ให้มีคุณสมบัติ ซับความชื้น ป้องกันให้อุณหภูมิเหมาะสมและสามารถนำไปใช้สู่ขั้นตอน ผลิตยางรถยนต์ ตามมาตรฐานสากล

เครื่องจักรทอผ้าที่ใช้ผลิต LINER แบบดั้งเดิม (WEAVING ROOM)

คือเครื่องทอกระสวย (WEAVING ROOM) ที่ใช้กระสวยโดยมีหลอดด้ายกรออยู่ในกระสวย ในการส่งด้ายพุ่ง วิ่งกลับไปกลับมาตามความกว้างหน้าผ้า โดยเส้นด้ายจะไม่มีการตัดขาด วิ่งจนกว่าเส้นด้ายจะหมดหลอดและระบบการทำงานจะเปลี่ยนเอาหลอดด้ายใหม่เปลี่ยนเข้ากระสวยโดยอัติโนมัติ เกิดการสลับชุดด้ายยืน และการรขัดสานตัวของกระสวยให้เกิดเป็นผืนผ้า ตามระบบการทำงานเครื่องทอ(ดูรูปตาม กระบวนการผลิตทอผ้า)

ริมผ้ากระสวยแบบดั้งเดิม (SELVAGE TUCK-IN)

เป็นริมผ้าที่ทนทาน และแข็งแรงที่สุด ในระบบเครื่องทอทุกแบบ เรียกว่าริมที่ขัดสานกันอยู่ด้านในเนื้อผ้าว่า (TUCK-IN)

ข้อดี -โครงสร้างผ้า LINER จะทนต่อแรงดึงและการเสียดสี ของเครื่องจักรในกระบวนการผลิตยางรถยนต์ -ริมผ้าไม่หลุดลุ่ยง่ายเนื่องจากเป็นริมที่ขัดสานเข้าไปในเนื้อผ้า ไม่เกิดการหลุดลุ่ยงานและ เศษด้ายหลุดไปปนกับชิ้นยาง (FM=FOREIGN MATERAIL) ในกระบวนการผลิตยางรถยนต์ -ผ้า LINER แข็งแรงทนทาน อายุการใช้การนาน โครงสร้างออกแบบผ้ามาให้เหมาะสมกับ สูตรยางของแต่ละบริษัทฯ และคุ้มกับราคาที่ต้องลงทุน